นอกเรื่อง - เทคนิคการใช้ mysqldump - How to mysqldump

วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องการสำรองฐานข้อมูลสักหน่อย ปกติแล้วเราจะป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับเวปไซต์ของเราโดยการสำรองข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างสม่ำเสมอ หากมีเหตุอันไม่พึงประสงค์เช่น error ที่เกิดจากการแก้ไขหรือปัจจัยภายนอกอย่าง host ที่เราใช้กันอยู่เป็นต้น ก็สามารถนำข้อมูลสำรองกลับมาใช้ได้อย่างทันท่วงที

การสำรองฐานข้อมูลอาจจะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับบางคน สำหรับ MySQL ก็มีโปรแกรม frontend ดีๆสำหรับจัดการอยู่หลายตัวเช่น SQL Yog หรือ Mysql Front แต่บางครั้งอาจจะมีเหตุจำเป็นทำให้เราไม่สามารถใช้ tool พวกนี้ได้ การใช้งาน command line เป็นคำตอบหนึ่งที่จะช่วยให้เราทำงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี


พื้นฐานการใช้งาน mysqldump

หากเราต้องการจะสำรองฐานข้อมูลชื่อว่า mydatabase ก็จะใช้คำสั่ง

mysqldump -u root -p mydatabase > mydatabase.sql

เราก็จะได้ไฟล์ฐานข้อมูล mysqldatabase.sql ออกมา หรือบางครั้งเราต้องการแค่ table เดียวที่อยู่ในฐานข้อมูลของเราก็ใช้คำสั่ง

mysqldump -u root -p mydatabase mytable > mytable.sql

โดย mytable ก็คือชื่อ table ที่เราต้องการนั้นเอง หากว่า table ของเรามีจำนวนข้อมูลมากเป็นแสนๆแต่เราต้องการจำนวนแค่ 1000 แถวก็สามารถใส่ option เพิ่มได้อีกโดยใช้คำสั่ง

mysqldump -u root -p --where="true limit 1000" mydatabase mytable > mytable.sql

option --where ที่เราใช้นอกจากการใช้ limit แล้วยังสามารถใช้ในการกรองข้อมูลได้ด้วยเช่น เราต้องการข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นในเดือน มิถุนายน ปี 2009 ก็ใช้คำสั่ง

mysqldump -u root -p --where="date_format(created_date,'%Y%m') = '200906'"
mydatabase mytable > mytable.sql


เป็นต้น

สำหรับการนำไฟล์ dump ที่เราได้ออกมาก็เพียงแค่ใช้ตำสั่ง

mysql -u root -p mydatabase < mydatabase.sql

โดยกรณีที่เราต้องการ dump ไฟล์ที่เป็นฐานข้อมูลทั้งก้อน(ไฟล์ที่ได้จากกรณีแรกสุด) ต้องทำการสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาก่อนทุกครั้ง

หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ

อ่านต่อ...

ติดตั้ง Joomla Step by Step - ตอนที่ 2 ติดตั้ง Joomla

กลับมาต่อกันเรื่องการติดตั้ง Joomla ครับ ครั้งก่อนเราได้ทำการติดตั้ง webserver ของเราเสร็จแล้ว จะขอเกริ่นเกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์ของเรานิดหน่อย

ค่าเริ่มต้นของ XAMPP

  • URL: http://localhost/
  • MySQL สามารถ login โดยใช้ username:root โดยที่ไม่ต้องกรอก password โดยเราสามารถเข้าไปแก้ password ของ root ได้ ในที่นี้ผมจะยังไม่แก้ครับเพื่อความรวดเร็ว
  • web root directory จะอยู่ที่ c:\XAMPP\htdocs\ ตามตัวอย่างที่แล้วที่ผมแตก zip ไว้ที่ c:\
เมื่อเรารู้รายละเอียดเริ่มต้นของเซิร์ฟเวอร์เราแล้วก็ได้เวลาติดตั้งกันแล้ว

ติดตั้ง Joomla
  1. ก่อนอื่นก็ไปโหลดแพคเกจของ Joomla มาก่อนครับ [โหลด joomla full package]
  2. จากนั้นสร้าง folder ขึ้นมาใหม่ชื่อว่า joomla แล้วทำการแตก zip joomla ไว้ใน folder นี้ จากนั้นทำการ copy ไปวางไว้ใน web root directory ของเรา (c:\XAMPP\htdocs\)


  3. เปิด browser ขึ้นมาแล้วพิมพ์ URL: http://localhost/joomla จากนั้นก็เลือกภาษาก่อนแล้วกด Next

  4. ตรวจดูว่ามีข้อผิดพลาดใดบ้าง หากมีการผิดพลาดจะมี status สีแดงบอกให้ทำการแก้ไขก่อนแล้วเลือก ตรวจสอบอีกครั้ง หากไม่มีข้อผิดพลาดใดๆก็เลือกถัดไป ในตัวอย่างผมมีข้อผิดพลาดอันนึงก็คือการแสดงข้อผิดพลาดของ PHP ซึ่งไม่มีผลกระทบใดๆก็สามารถไปขั้นต่อไปได้เลยครับ โดยปกติแล้วถ้าหากใช้ XAMPP เป็น webserver มักจะไม่ค่อยมีปัญหาครับ

  5. หน้านี้ไม่มีอะไรข้ามไปเลย (เป็นเรื่องเกี่ยวกับลิขสิทธ์การใช้งานหากสนใจก็อ่านก่อนก็ได้ครับ)

  6. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับฐานข้อมูลของเรา กรอกตามรูปเลยครับยกเว้นรหัสผ่านไม่ต้องกรอกครับ โดยฐานข้อมูลผมจะใช้ชื่อว่า joomla ครับ

  7. ติดตั้ง FTP ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้ครับ นอกจากใครที่มีความรู้เรื่อง FTP ก็สามารถตั้งค่าได้ที่หน้านี้ครับ จากนั้นเลือก ไม่สนับสนุนแล้วก็ ถัดไปครับ

  8. การตั้งค่าระบบให้กรอก email และรหัสผ่านสำหรับ admin เพราะหลังจากที่เราติดตั้งเสร็จแล้วต้องเข้าไปจัดการระบบเพื่อแก้ไขค่าต่างๆ อีกส่วนหนึ่งก็คือการติดตั้งข้อมูลตัวอย่างเราสารถเลือกติดตั้งหรือไม่ก็ได้ แนะนำให้เลือกครับสำหรับือใหม่เพราะหลังจากติดตั้งเสร็จจะเห็น content ทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

  9. เสร็จสิ้นการติดตั้งแต่ยังใช้งานไม่ได้เราต้องเข้าไปลบ folder installation ใน folder joomla ของเราก่อน ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถใช้งานได้


  10. เมื่อทำการลบ folder installation ให้ click ดูหน้า website ก็จะเห็นภาพที่น่าประทับใจอีกครั้ง

หลังจากนี้เราสามารถเข้าไปแก้ไขส่วนต่างๆ โดยเข้่าไปที่ ้http://localhost/joomla/administrator จากนั้นกรอกชื่อผู้ใช้เป็น admin ส่วนรหัสผ่านตามที่เราได้กรอกไว้ในขั้นตอนที่ 8 ส่วนรายละเอียดการใช้งานอยากให้ไปศึกษากันครับ ไม่ยาก หรือหากมีเวลาผมจะกลับมาเขียนต่อในส่วนของ admin ครับ

อ่านต่อ...

Code block ใน blogger ง่ายนิดเดียว

เวลาที่เราต้องการจะ share code ใน blogger สามารถใช้ tag html

<code>...</code>

หรือ

<blockquote>...</blockquote>

แต่การแสดงผลอาจจะไม่สวยงามมากนัก วิธีแก้ก็คือการเพิ่ม style ให้กับ code block ของเรา ลองเอา code ข้างล่างไปวางไว้ใน html ของ blogger ดูครับ รับรอง code ของเราจะดูดีขึ้นอีกเป็นกอง


blockquote {
margin:.75em 0;
border:1px solid #596;
border-width:1px 1px;
padding:5px 15px;
display: block;
background-color: #dedede; /*เปลี่ยนสีพื้นหลัง*/
}

code {
font-family: Courier;
margin:.75em 0;
border:1px solid #596;
border-width:1px 1px;
padding:5px 15px;
display: block;
background-color: #dedede; /*เปลี่ยนสีพื้นหลัง*/
white-space: pre;
}

อ่านต่อ...

นอกเรื่อง - ค้นหาคำในไฟล์บน Linux - Search in file

วันนี้มาแปลกครับขอนอกเรื่องนิดนึงก่อนที่จะไปต่อกันเรื่องการติดตั้ง Joomla (ต่อไปนี้อาจจะขอนอกเรื่องบ่อยๆ) หลายๆคนที่เคยใช้ linux ไม่ว่าจะเป็น distro ใดๆก็ตามต่างก็ต้องใช้ command line อย่างแน่นอน สำหรับผมชอบการใช้ command line มากเพราะมันสะดวก หลายๆอย่างก็ทำได้โดยไม่ต้องคลิ๊กๆให้เมื่อย ถ้าคล่องแล้วพิมพ์เร็วๆจะรู้สึกเทหฺราวกับพระเอกในหนัง sci-fi เลย :)


มีอยู่ครั้งนึงที่ผมต้องการค้นหาอีเมล์ในไฟล์ html จำนวนเป็นร้อยๆไฟล์แต่ใน linux ไม่ค่อยมีเครื่องมือเคร่ืองใช้เหมือนกับ windows ก็เลยต้องใช้ command line นี่แหละจัดการ คำสั่งที่ผมใช้ก็คือ

grep "word" *.*

ถ้าหากจะหาใน sub-directory ด้วยก็เพิ่ม option -r เข้าไปเป็น

grep "word" -r *.*

หวังว่่าคงเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนนะครับ

อ่านต่อ...

ติดตั้ง Joomla Step by Step - ตอนที่ 1 จัดเตรียม webserver

ยังไม่มีเวลาเขียนเกี่ยวกับ dotnetnuke ซักที ด้วยเครื่องที่ใช้อยู่ต้องสลับไปสลับมากับระหว่าง IIS กับ apache (ใช้ XAMPP) ไม่อยากใช้ 2 ตัวพร้อมกันเพราะเครื่องรุ่นเก๋ามากไหนจะต้องเปิดโปรแกรมอื่นๆอีกเอาเป็นว่าเขียนเรื่องที่มันเขียนได้ดีกว่า


เรื่องการติดตั้ง Joomla คงเป็นเรื่องหมูๆที่ใครบางคนคงทำได้ไม่ยากแต่ผมคิดว่าคงมีบางคนที่ยังไม่เคยลองเลยคิดว่าเขียนแล้วคงมีคนเข้ามาอ่านบ้างไม่เล็กก็น้อยล่ะนะ ตอนแรกนี้จะ้เริ่มตั้งแต่โคตรเบสิคมาเลยเอาแบบคนไม่รู้เรื่องอะไรเลยก็พอจะทำได้ไม่ยาก คือการติดตั้ง webserver ในเครื่องเราก่อน หลังจากเสร็จเรียบร้อยจะเล่น CMS ตัวอื่นๆก็สามารถโหลดมาใช้ได้เลย

webserver ที่ใช้จะเป็น apache, php และฐานข้อมูลจะใช้ mysql รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ webserver หรือฐานข้อมูลคงต้องวานไปศึกษากันนิดหน่อยนะครับ โดยส่วนใหญ่การติดตั้งผมจะติดตั้งแพคเกจแยกกันที่ละตัวและต้องทำการ config เองซึ่งจะทำให้ยุ่งยากพอสมควรผมเลยจะขอแนะนำ XAMPP ซึงรวมแพคเกจทั้งหมดไว้ด้วยกัน ทำให้งายต่อการติดตั้งและแทบจะไม่ต้องทำการ config ใดๆเลย ข้อดึของ XAMPP อีกอย่างก็คือมันเป็น portable ได้ด้วยสามารถย้ายไปคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้เลย

สิ่งที่ต้องเตรียม
  • XAMPP package สามารถโหลดได้ที่นี่ เลือกเป็นแบบ zip นะครับ
  • คอมพิวเตอร์บ้านๆเรานี่แหละขอเหนื้อที่ซัก 200MB ก็พอครับ


วิธีติดตั้ง XAMPP
  1. หลังจาก download XAMPP มาแล้วให้ทำการแตก zip ออกมาไว้ที่ๆเราต้องการทำการติดตั้ง สำหรับผมเอาไว้ใน drive C:\ พอเข้าไปในโฟลเดอร์ xampp ก็จะได้ดังรูป

  2. เปิดโปรแกรมที่ชื่อ xampp-control.exe ก็จะมีหน้าต่างขึ้นมาดังรูป


  3. ทำการ start apache และ mysql โดย click ที่ปุ่ม start ที่ทำการวงไว้ในรูป


  4. หลังจากที่เรา start server เสร็จเรียบร้อยแล้วหากไม่มีปัญหามี status "Running" ขึ้นมาบอกก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย


  5. ลองเข้าไปทดสอบ webserver ของเราที่ URL http://localhost ก็จะเห็นภาพอันน่าประทับใจนี้



จบตอนแรกแล้วครับ ในตอนหน้าเราจะมาทำการติดตั้ง Joomla กันครับ

อ่านต่อ...

Wordpress 2.80 คลอดแล้ว

Wordpress ได้ออกเวอร์ชันใหม่ 2.80 แล้ว ได้โค้ดเนมว่า "Baker"(ชื่อคุ้นๆหูนะ) เค้าบอกว่าเอาชื่อมาจากนักทรัมเป็ตคนนึงที่ชื่อ "Chet Baker" สิ่งที่พัฒนาขึ้นก็เป็นระบบ theme, widget รวมถึงความเร็วที่เพิ่มขึ้น แถมยังแก้ไขบั๊กอีก 790 รายการอีกด้วย ส่วนรูปร่างหน้าตาการใช้งานอาจจะยังไม่แตกต่างจากเวอร์ชันก่อนหน้านี้มากนัก

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงหลักๆใน version 2.8

  • สามารถติดตั้ง theme ผ่าน theme directory ได้เลย เหมือนกับการติดตั้ง plugin ในเวอร์ขัน 2.70
  • Codepress editor มี syntax highlight สำหรับการแก้ไข plugin และ theme
  • เพิ่ม screen option ทุกๆหน้าทำให้สามารถใช้ widget ได้ถึง 4 column สำหรับจอ widescreen ในหน้า dashboard หรือปรับจำนวน item ที่แสดงในหน้าอื่นๆได้
สำหรับการแก้ไขส่วนอื่นสามารถอ่านต่อไปที่ http://codex.wordpress.org/Version_2.8

ที่มา wordpress blog


อ่านต่อ...

Content Management Systems (CMS) List

ตอนแรกกะจะเขียนเกี่ยวกับ dotnetnuke ต่อแต่ด้วยความขี้เกียจบวกกับไม่ค่อยมีเวลาเขียนบทความยาวๆเลย พอดีได้ไปเจอเวปไซต์ที่รวบรวมรายชื่อ CMS ไว้เห็นว่าน่าสนใจเลยนำมาแปะไว้ที่เวปตัวเองซะเลย 555

ปล. ไม่น่าเชื่อว่ามันจะมีเยอะขนาดนี้


Enterprise Content Management Systems


Alfresco Enterprise (J2EE) (open source)
Autonomy (Interwoven) ECM
Day Software
EMC/Documentum
eXo ECM (open source)
Clearview ECM (built on SharePoint)
Content Conductor
FileNet (IBM)
Hummingbird (OpenText)
Hyland OnBase
IBM
Identitech
Infogrid (open source)

IXOS (OpenText)
KnowledgeTree (open source, GPL)
Microsoft SharePoint ECM
Mobius
Nuxeo EP (open source)
Objective
OpenText
Optika (Stellent/Oracle)
Oracle UCM
pTools ECM
Stellent/Oracle ECM
Vignette ECM (Open Text)
VYRE - Unify



Document Management Systems


Ademero
Astroia Software
ColumbiaSoft Document Locator
eXo ECM (open source)
Group Drive
iDatix iSynergy (doc, process mgmnt)
ISIS Papyrus (doc, process mgmnt)

Microsoft SharePoint Online (SaaS)
Microsoft SharePoint Server (MOSS)
Microsoft SharePoint Services (WSS) (free)
Vasont
Xerox DocuShare
Xythos Document Management (SaaS/On-premise)

Enterprise Web Content Management Systems


Autonomy (Interwoven) Web CMS
Amaxus Web CMS
Bridgeline iApps Content Manager (.NET)
Browser CMS (Java)
Day Communiqué (Java)
Ektron CMS 400 (.NET)
EpiServer (.NET)
eZ Publish (OSS, PHP)
Fatwire Content Server
Interwoven (Autonomy)
Lotus Workplace WCMS
Magnolia Enterprise (Java)
Mediasurface Morello
Microsoft SharePoint WCM (.NET)
Nstein (Web Publishing)

OpenText Web Solutions (was RedDot)
Percussion CM System (was Rhythmyx)
pTools CMS
Quatumart Q-Publishing (.NET)
SDL Tridion
Seamless CMS (.NET)
Sitecore (.NET)
SiteRefresh
Stellent/Oracle WCM
Vignette WCM (Open Text)
WebSideStory/Visual Sciences

SMB/Dept. Web Content Management Systems


ABC CMS
Affino
Applaud CMS
Big Medium CMS
Bitrix Site Manager
Bluenog CMS (OSS, based on Hippo)
Bridgeline iApps Content Manager (.NET)
CMS 2005
Convio
CoreMedia CMS
Eden Platform from Preation (SEO focused)
Easy CMS
Ego7 (Flash)
EM3 iOn
Emagine
Estrada Onstage
eZ Publish
FirstSpirit (e-Spirit)
Fluid CMS
Fog Creek - City Desk
Freestyler CMS
GlobalScape
Hardcore CMS
Hippo CMS (open source)
Hot Banana CMS
Ingeniux CMS

iSite CMS
Jahia
Libertas WCM

MarketPath CMS (SaaS)
Marqui CMS
Mediasurface Immediacy
NetReach cmScribe
Nucleus CMS
OmniUpdate
PaperThin CommonSpot
Pedrera CMS
SiteEnable
SiteExecutive
Sitellite
SiteSage CMS
Smartsite CMS
SnapTech CMS
Tekfuse TCMS
V2 CMS
Vivvo CMS
Web Edition CMS
Website Director CMS
Xitex WebContent M1

Web Content Management for Publishers


Campsite (OSS, PHP)
Clickability (SaaS, Pro)
Content DSI WPS (SaaS, directories)
Drupal (OSS, PHP, Simpler)

eZ Publish (OSS, PHP)
Magnolia OnAir (for Broadcasters, OSS, Java)
Nstein (COS, Pro)
Plone (OSS, Zope)

Simple Web Content Management Systems


Cushy CMS (SaaS, Super Simple)
Digitalus Web CMS (PHP, Zend, Open Source)
Enano CMS/Wiki (PHP, Open Source)
iUpdateIt (SaaS w/ JavaScript embed)
Kentico Web CMS (.NET)
Komodo
Marqui CMS
N2 CMS (.NET, Open Source, CMS Framework)
Oxite (.NET)
QuickelSoft CMS (.NET)

Subdreamer (PHP)
Telerik Sitefinity (.NET)
V2 CMS
Web Edition CMS
Website Director CMS
Xitex WebContent M1


Hosted (SaaS) Content Management Systems


Agility CMS
Bridgeline iApps Content Manager
Clickability
Compass Web Publisher (simple/medium)
Content DSI WPS (directories)
CrownPeak
Cushy CMS (Super Simple)
dbCanvas
GlobalScape
iUpload CM
Kintera

Live Storyboard CMS
Libertas Site Wizard
MarketPath CMS

Marqui CMS
Mediasurface Pepperio
PaperThin CommonSpot
Quantum Art (SaaS)
SiteRefresh
SnapTech CMS
WebSideStory/Visual Sciences

Open Source Web Content Management Systems


Alfresco Community (J2EE, ECM, WCM)
Apache Lenya
APLAWS+
Bluenog CMS (based on Hippo)
Bricolage
Campsite (GPL, PHP,web publishing)
Digitalus Web CMS (PHP, Zend)
Docebo CMS
dotCMS (Java)
DotNetNuke
Drupal
Enano CMS/Wiki (PHP, GPL)
eXo Web CMS
eZ Publish
Far Cry
Hippo CMS (open source)
JBoss Nukes
Jetbox CMS
Joomla! (PHP, forked from Mambo)
Lenya
Magnolia
Mambo Server
Midgard Project
MMBase
MODx CMS (PHP/AJAX)
ndCMS
N2 CMS (.NET, CMS Framework)

Nuxeo (J2EE, ECM, WCM)
OpenCMS
Oxite (.NET)
Papoo CMS
PHPNuke
phpwcms
PHPWebsite
Pligg
Plone
PortalApp
PostNuke
Red Hat CCM
Simple Web CMS
Sitellite
SPIP (FR)
Squiz MySource
TikiWiki
TYPO3 (PHP, GLP)
TYPOlight webCMS (PHP, LGPL)
Umbraco
XOOPS
WebGUI
Xaraya CMS


Micro Content Management Systems, Blogging and Wikis


Acquia Gardens (SaaS Drupal...coming soon.)
BlogEngine.NET (open source)
Blogger.com (Google's SaaS)
Blogtronix (.NET social platform)
Dasblog (.NET, open source)
Drupal (OSS PHP semi-simple sites, portals)
eTouch Samepage Wiki (J2EE/SaaS)
Expression Engine (PHP...semi-simple)
Google Sites (SaaS, simple wikis, sites)
iUpload Personal Publisher
Joomla! (OSS PHP, semi-simple sites, portals)

Movable Type Org(OSS Perl/PHP blogs, social media)
Movable Type Pro(Perl/PHP blogs, social media)
OpenZine (SaaS, simple blog magazines)
PublicSquare (SaaS, semi-pro)
Screwturn Wiki (.NET)
SquareSpace (SaaS)
Subtext (.NET, open source blogging)
TypePad (Six Apart SaaS)
Viviti (SaaS, simple sites)
Vox (Six Apart, SaaS)
WordPress.com (Automattic SaaS blogs, sites) WordPress.org (Automattic PHP blogs, sites)


Data Mashing Tools & Platforms


Gnip
Mozenda

Yahoo! Pipes


Content Migration Tools


Armedia Content I/O Suite
Entropy Soft (connectors)
Indigen Victor
Information Mapping, Inc.

Kapow Technologies
Open Migrate (OSS, doc migration)
Vamosa Content Migrator

WYSIWYG Editors (HTML/XHTML)


DocEditPanel (ASP.NET Ctl)
Ektron (Win32)
Ephox (Plugin or Java)
FCKeditor (DHTML)
FreeTextbox (ASP.NET Ctl)
Hardcore Editor (DHTML)
HTMLArea (DHTML)
InnovaStudio (DHTML)

Loki (DHTML, open source)
pinEdit (DHTML)
Telerik r.a.d.Editor (ASP.NET Ctl)
TinyMCE (DHTML)
WebRenderer (Java)
WYMeditor (JavaScript, Simple)
XStandard (Plugin)
YUI Editor (DHTML, open source)

ที่มา http://www.cmswire.com/cms/products/#prod-wcm

อ่านต่อ...

DotNetNuke - CMS หัวใจ .NET


ช่วงที่ผ่านมานี้ได้มีโอกาศศึกษาเกี่ยวกับ CMS ตัวหนึ่งที่พัฒนาโดยใช้ภาษา VB.NET ชื่อว่า DotNetNuke หลังจากทำการติดตั้งและลองใช้ดูพบว่า CMS ตัวนี้มีความน่าสนใจมากอีกทั้งยังเป็น opensource สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งได้เลย

จุดเด่นเลยคือผู้ใช้สามารถทำการแก้ไขส่วนต่างได้ในหน้า web เลย ถ้าใครเคยใช้ plone คงพอจะนึกออก ผู้ใช้สามารถเลือกส่วนที่ต้องการทำการแก้ไขแล้วคลิกเลือกจากนั้นก็ทำการแก้ไขได้เลยรวมถึง hedline ต่างๆทำให้สะดวกต่อการดู layout ของเวปไซต์ไม่ต้องเซฟแล้วพรีวิวบ่อยๆ

การติดตั้งไม่ง่ายเหมือนกับ CMS ทั่วไปๆถ้าเทียบกับ wordpress แล้วถือว่ายาก ถ้าใครไม่เคยใช้ IIS อาจจะต้องนั่งงงกับการติดตั้งนิดหน่อย

ความต้องการของระบบ
  • IIS 5.0 ขึ้นไป
  • .NET framework 2.0
  • SQL Server
  • MSXML 6.0

ก่อนดาวน์โหลดต้องทำการลงทะเบียนก่อน หลังจากทำการติดตั้งเสร็จแล้ว(วิธีติดตั้งดูที่นี่) ส่วนรายละเอียดอื่นขอมาต่อในตอนหน้าครับ


อ่านต่อ...